มุมสุขภาพตา : #Cataract

เรียงตาม
โรคตาแห้ง
โรคตาแห้ง มารู้จักกับโรคตาแห้ง      น้ำตา มีความสำคัญในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา ช่วยให้เรามองเห็นภาพชัดเจนโดยทำให้แสงผ่านกระจกตาได้ดี และนำออกซิเจนมาเลี้ยงกระจกตา รวมทั้งช่วยป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอม      ตาแห้ง พบได้บ่อย เกิดจากความผิดปกติของน้ำตา อาจมีปริมาณน้ำตาไม่เพียงพอหรือมีการระเหยของน้ำตาที่มากเกินไป ก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่ผิวกระจกตาและเกิดอาการไม่สบายตา อาการที่บอกว่า ตาเราเริ่มแห้ง อาจมีตั้งแต่แสบตา ระคายเคืองตา เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา ตาแดง เจ็บ พร่ามัวลงแต่ดีขึ้นเมื่อกระพริบตา หรือรู้สึกฝืดๆ หนักๆตา ลืมตาลำบาก ล้าหรือมีอาการน้ำตาไหลมากก็เป็นได้      สาเหตุของการเกิดตาแห้งนั้นมีหลากหลาย ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย อีกทั้งยาบางชนิด เช่น ยารักษาภูมิแพ้ การเพ่งหรือใช้สายตาติดต่อกันนานๆ เช่นใช้คอมพิวเตอร์ การอยู่ในที่ๆมีฝุ่นละอองและควัน ลมแรงและแสงจ้า ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ หรือหลังทำเลสิกระยะแรก หรือจากโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ผิวตาเสื่อมจากสารเคมีหรือการแพ้ยาแบบรุนแรง   วิธีการรักษาตาแห้งมีหลากหลาย ดังนี้ หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดอาการ เช่น เลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน แสงจ้า ด้วยการใส่แว่นกันแดด กันลม หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานานๆ พักสายตาหรือกระพริบตาบ่อยๆ หรือหลับตาพักเป็นระยะๆ อย่างน้อย 1 นาที ทุก ½-1 ชั่วโมง หากต้องใช้สายตาติดต่อกันนานๆ ใช้น้ำตาเทียม ซึ่งมีหลายชนิด มีทั้งชนิดน้ำ (ใช้กลางวัน) และชนิดขี้ผึ้งหรือเจล (ใช้กลางคืน) น้ำตาเทียมจะแยกเป็นชนิดที่มีสารกันเสีย (รูปแบบขวด) ไม่ควรหยอดเกิน 4-5 ครั้งต่อวัน หรือชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย (แบบกระเปาะ) ซึ่งสามารถใช้ได้บ่อยๆ โดยการเลือกน้ำตาเทียมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เนื่องจากแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน การใช้ยาหยอดบางชนิดเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตา เช่น การใช้ยารักษาภาวะเปลือกตาอักเสบที่พบเป็นสาเหตุของน้ำตาระเหยเร็ว ร่วมกับการให้ประคบอุ่นทำความสะอาดขอบตา การอุดท่อระบายน้ำตาที่บริเวณหัวตา ทำให้น้ำตาอยู่ในดวงตาเพิ่มขึ้น มีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ใช้ในรายที่มีอาการตาแห้งรุนแรงหรือเรื้อรัง        โดยสรุป ตาแห้งเป็นโรคซึ่งไม่เป็นอันตรายไม่ถึงกับทำให้ตาบอด แต่จะน่ารำคาญ รบกวนการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย แต่ก็มีวิธีหลากหลายวิธีที่ช่วยให้อาการดีขึ้น และสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขขึ้น ช่วงนี้ลมหนาวใกล้มา อากาศมักจะแห้งมากขึ้น อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพตาให้ชุ่มชื้นด้วยนะคะ ถ้าสงสัยว่าตาเราแห้งหรือไม่ สามารถมาพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาต่อไป
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์เลสิก LASER VISION
The Transformative Power of No-Blade Cataract Surgery (FLACS)
No-Blade Cataract Surgery, also known as Femtosecond Laser-Assisted Cataract Surgery (FLACS) marks a revolutionary advancement in cataract treatment, presenting a safer, more precise alternative to traditional methods. This blog post delves into the numerous benefits of this state-of-the-art technology, illustrating why it's rapidly becoming the preferred choice for patients and surgeons globally. Unmatched Precision and Enhanced Visual Outcomes: No-Blade Cataract Surgery, also known as Femtosecond Laser-Assisted Cataract Surgery (FLACS) distinguishes itself through its extraordinary precision and accuracy. Leveraging cutting-edge laser technology, the procedure enables surgeons to make exact incisions and fragment cataracts with impeccable accuracy. This precision significantly enhances visual outcomes, leading to higher patient satisfaction and reduced need for corrective eyewear post-surgery. Reduced Recovery Time and Quicker Visual Rehabilitation: FLACS offers patients significantly reduced recovery times compared to traditional cataract surgery. Its minimally invasive approach causes less trauma to the eye, facilitating quicker healing and faster return to normal visual activities. Patients often report noticeable improvements in vision almost immediately after the procedure. Superior Safety and Reduced Complications: The safety profile of no-blade cataract surgery is exemplary, with the laser technology providing surgeons greater control during the operation. This precision minimizes the risk of common complications such as infections and inflammation, making the surgery safer for patients. The predictability and reproducibility of the laser-assisted steps contribute to its outstanding safety standards. Tailored Treatments and Personalized Care: At Bangkok Eye Hospital, we personalize each Femto Laser-Assisted Cataract Surgery to meet the unique needs of our patients. Our expert ophthalmologists employ comprehensive diagnostics to tailor the surgery, ensuring optimal outcomes and fulfilling our commitment to "Encouraging Sights and Inspiring Futures". Conclusion: No-Blade Cataract Surgery, also known as Femtosecond Laser-Assisted Cataract Surgery (FLACS) is transforming the landscape of cataract treatment. With its precision, efficiency, and safety, FLACS enhances patient experiences and outcomes, embodying the future of ocular surgery. Embrace the future of eye care with Bangkok Eye Hospital, where advanced technology meets compassionate care.   Don't let cataracts diminish your quality of life. Discover the benefits of Femto Laser-Assisted Cataract Surgery at Bangkok Eye Hospital. Contact us today at [lasik-eng@laservisionthai.com] to schedule your consultation and step into a clearer, brighter future.      
ศูนย์เลสิก LASER VISION
แสงกระจาย
แสงกระจาย แสงกระจาย      เป็นลักษณะของแสงที่เกิดการกระจายของจุดกำเนิดแสง แยกเป็นแฉกๆ หรือเป็นวงรอบ โดยมักจะเกิดในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างมืด แสงกระจายจะไม่เกิดเมื่อแสงสว่างรอบตัวมีมาก การเกิดแสงกระจายในตอนกลางคืน จะพบได้มากในคนที่ภาวะสายตาสั้น ที่ยังไม่ได้เข้ารับการรักษา สำหรับผู้ที่เกิดภาวะแสงกระจาย จนรบกวนการมองเห็นในสภาพแวดล้อมมืด อาจรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อต้องขับรถในยามค่ำคืน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการขับรถในเวลากลาวคืน หรืออาจใช้แว่นตัดแสงกระจาย หรือการหยอดยาหดม่านตา เพื่อช่วยให้ภาวะแสงกระจายดีขึ้น การมองเห็นแสงกระจายในที่สว่างจ้า และมีอาการตามัว นั่นหมายถึงเริ่มมีภาวะต้อกระจกได้ ควรรีบเข้าปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์เลสิก LASER VISION
สุขภาพตากับอายุ
สุขภาพตากับอายุ สุขภาพตากับอายุ      ในขณะที่ผู้สูงอายุมุ่งมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้ห่างจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆทั้งโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง แต่อวัยวะที่ร่างกายต้องใช้ทุกวันอย่างดวงตา กลับได้รับความสนใจน้อยกว่า จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อThe International Agency for the Prevention of Blindness (IAPB) สำรวจสุขภาพตาของคนที่มีอายุ 50ปี ทั่วโลก 45 ล้านคน พบว่า 80% มักมีปัญหาเรื่องสายตาจนถึงขั้นตาบอด   Snellen Chart      ความผิดปกติทางสายตาที่มีความสัมพันธ์กับอายุที่ผู้สูงวัยควรระวังได้แก่       ต้อกระจก      จะเริ่มตั้งแต่อายุ 40ต้นๆ (หรืออาจจะช้ากว่านั้น) การเกิดต้อกระจกเปรียบเสมือนฝ้าที่เกิดขึ้นบนกระจกใส ทำให้มองเห็นไม่ชัด อาการน่าสงสัยของต้อกระจกคือ ตาสู้แสงได้ไม่ดี โดยเฉพาะเวลาขับรถ        ต้อหิน      เกิดจากความดันภายในดวงตาที่สูงกว่าปกติทำให้ดวงตาแข็งเหมือนหิน เมื่อมองจะเห็นภาพที่อยู่ตรงกลางชัดแต่กลับมองภาพบริเวณรอบๆไม่ได้ ต้อหินมี2ชนิด คือต้อหินมุมปิดและมุมเปิด เรามักพบต้อหินมุมปิดหรือต้อหินเฉียบพลันในหญิงสูงอายุ เนื่องจากผู้หญิงมักมีดวงตาเล็กกว่าผู้ชาย มักมีอาการปวดเมื่อยตามากเวลาที่ใช้สายตามากและมีอาการตาแดงก่อนตามัว แต่พอได้นอนพักผ่อนอาการต่างๆจะหายไป สามารถใช้ชีวิตได้ปกติแต่อีกไม่กี่วันก็จะกลับมีอาการใหม่ ในทางตรงกันข้ามต้อหินมุมเปิดหรือต้อหินเรื้อรัง พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงมาจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือด ภาวะสายตาสั้นหรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคต้อหิน ทั้งนี้ต้อหินแบบเรื้อรังอาจเป็นอันตรายมากกว่า เพราะจะไม่แสดงอาการ ดังนั้นจึงมักตรวจพบได้โดยบังเอิญ หรือกว่าจะมารักษาก็เป็นมากจนสายเกินแก้และอาจจะรุนแรงถึงขั้นตาบอด       การเสื่อมของตาเนื่องจากสูงอายุ      เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียการมองเห็น อาการเบื้องต้นคือ มองเห็นภาพรอบๆชัดแต่มองจุดภาพตรงกลางไม่ชัด ซึ่งเกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อชั้นในดวงตาที่อยู่กึ่งกลางของเรตินามีความผิดปกติและส่วนหนึ่งเกิดมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคความดันโลหิตสูง โคเลสเตอรอลสูง ภาวะน้ำหนักเกินหรือสูบบุหรี่เป็นต้น       จุดหรือเงาดำในตา      ผู้สูงอายุจะเห็นเป็นจุดหรือเงาดำเล็กๆวิ่งผ่าน คล้ายกับมีแมลงหรือยุงบินผ่าน สาเหตุเกิดจากน้ำวุ้นลูกตาที่อยู่ในตาระหว่างเลนส์กับเรตินาไม่จับตัวแน่นเหมือนเดิม ซึ่งเป็นไปตามอายุที่มากขึ้น แม้การมองเห็นจุดดำจะไม่มีอันตรายต่อสุขภาพตา แต่ถ้าเห็นจุดดำหรือเงาดำมากขึ้นและการมองเห็นไม่ชัดร่วมด้วย ควรจะเข้ามาพบจักษุแพทย์ทันที      สุขภาพตาก็เหมือนสุขภาพร่างกายทั่วไปที่ควร เข้ารับการตรวจเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรเข้ารับการตรวจโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์เลสิก LASER VISION
โรคต้อกระจก เป็นอย่างไร?
โรคต้อกระจก เป็นอย่างไร? ต้อกระจก (Cataract)      เป็นโรคที่มีความขุ่นลงของเลนส์ตา ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากกว่า 65 ปี เนื่องจากเป็นความเสื่อมไปตามวัยของเลนส์ตาเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่นอุบัติเหตุ หรือเป็นมาแต่กำเนิดก็ได้ อาการเริ่มแรกคือจะมองเห็นค่อยๆมัวลงช้าๆ คล้ายมีหมอกมาบัง โดยไม่มีความเจ็บปวด อาจเริ่มมีการรบกวนต่อชีวิตประจำวัน เช่น ต้องอาศัยแสงสว่างมากในการจะมองให้ชัด หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงของสายตาโดยมีสายตาสั้นมากขึ้น การขับรถในตอนกลางคืนจะลำบากมากขึ้น ถ้าทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการผ่าตัดรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้เกิดข้อแทรกซ้อนได้ เช่น ต้อหิน หรือม่านตาอักเสบ ทำให้มีอาการปวดตาและตาอักเสบ การมองเห็นปกติ การมองเห็นเมื่อมีต้อกระจก   การรักษาต้อกระจก      นั้นทำได้โดยวิธีผ่าตัดโดยเอาเลนส์ที่ขุ่นออก และใส่เลนส์เทียมเข้าไปทดแทน วิธีการผ่าตัดมีหลายแบบขึ้นกับความรุนแรงของโรค ปัจจุบันวิธีการผ่าตัดพัฒนาก้าวหน้ามาก ใช้เวลาไม่นานราว 30 นาที โดยฉีดยาชาเฉพาะที่หรือใช้เพียงยาชาชนิดหยอด ทำเสร็จกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน วิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ การผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่น ultrasound และดูดเอาเลนส์ออกผ่านแผลขนาดเล็กเพียง 3 มม.และใส่เลนส์เทียมชนิดพับได้เข้าไปแทนเลนส์เดิม แผลมีขนาดเล็ก มักไม่จำเป็นต้องเย็บแผล และอาการเคืองตามีเพียงเล็กน้อย   การสลายต้อกระจากด้วยคลื่น ultrasound ผ่านแผลขนาดเล็ก การใส่เลนส์เทียมหลังสลายต้อกระจก        เลนส์เทียมที่ใช้ในการผ่าตัดมีหลายชนิด ทั้งชนิดมาตรฐานซึ่งเป็นเลนส์พับอย่างดี (Monofocal) ให้การมองไกลได้ชัดเจนแต่มักต้องใส่แว่นเพื่อมองใกล้ชัด หรือเลนส์ชนิดชัดหลายระยะ (Multifocal) ซึ่งมองเห็นได้ทั้งไกลและใกล้ได้โดยลดการพึ่งพาแว่นสายตายาวได้มากกว่า การดูแลหลังผ่าตัดคือ รับประทานยาและหยอดยาตาแพทย์สั่ง ห้ามตาโดนน้ำหลังผ่าประมาณ 2 สัปดาห์ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ไอ เบ่ง และมาตรวจตาตามที่แพทย์นัด
ที่อยู่
Laser Vision International LASIK Center

10/989 ซ.ประเสริญมนูกิจ 33 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230

ช่องทางติดต่อ
Line