มุมสุขภาพตา

เรียงตาม
โรคตาแห้ง
โรคตาแห้ง มารู้จักกับโรคตาแห้ง      น้ำตา มีความสำคัญในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา ช่วยให้เรามองเห็นภาพชัดเจนโดยทำให้แสงผ่านกระจกตาได้ดี และนำออกซิเจนมาเลี้ยงกระจกตา รวมทั้งช่วยป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอม      ตาแห้ง พบได้บ่อย เกิดจากความผิดปกติของน้ำตา อาจมีปริมาณน้ำตาไม่เพียงพอหรือมีการระเหยของน้ำตาที่มากเกินไป ก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่ผิวกระจกตาและเกิดอาการไม่สบายตา อาการที่บอกว่า ตาเราเริ่มแห้ง อาจมีตั้งแต่แสบตา ระคายเคืองตา เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา ตาแดง เจ็บ พร่ามัวลงแต่ดีขึ้นเมื่อกระพริบตา หรือรู้สึกฝืดๆ หนักๆตา ลืมตาลำบาก ล้าหรือมีอาการน้ำตาไหลมากก็เป็นได้      สาเหตุของการเกิดตาแห้งนั้นมีหลากหลาย ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย อีกทั้งยาบางชนิด เช่น ยารักษาภูมิแพ้ การเพ่งหรือใช้สายตาติดต่อกันนานๆ เช่นใช้คอมพิวเตอร์ การอยู่ในที่ๆมีฝุ่นละอองและควัน ลมแรงและแสงจ้า ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ หรือหลังทำเลสิกระยะแรก หรือจากโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ผิวตาเสื่อมจากสารเคมีหรือการแพ้ยาแบบรุนแรง   วิธีการรักษาตาแห้งมีหลากหลาย ดังนี้ หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดอาการ เช่น เลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน แสงจ้า ด้วยการใส่แว่นกันแดด กันลม หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานานๆ พักสายตาหรือกระพริบตาบ่อยๆ หรือหลับตาพักเป็นระยะๆ อย่างน้อย 1 นาที ทุก ½-1 ชั่วโมง หากต้องใช้สายตาติดต่อกันนานๆ ใช้น้ำตาเทียม ซึ่งมีหลายชนิด มีทั้งชนิดน้ำ (ใช้กลางวัน) และชนิดขี้ผึ้งหรือเจล (ใช้กลางคืน) น้ำตาเทียมจะแยกเป็นชนิดที่มีสารกันเสีย (รูปแบบขวด) ไม่ควรหยอดเกิน 4-5 ครั้งต่อวัน หรือชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย (แบบกระเปาะ) ซึ่งสามารถใช้ได้บ่อยๆ โดยการเลือกน้ำตาเทียมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เนื่องจากแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน การใช้ยาหยอดบางชนิดเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตา เช่น การใช้ยารักษาภาวะเปลือกตาอักเสบที่พบเป็นสาเหตุของน้ำตาระเหยเร็ว ร่วมกับการให้ประคบอุ่นทำความสะอาดขอบตา การอุดท่อระบายน้ำตาที่บริเวณหัวตา ทำให้น้ำตาอยู่ในดวงตาเพิ่มขึ้น มีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ใช้ในรายที่มีอาการตาแห้งรุนแรงหรือเรื้อรัง        โดยสรุป ตาแห้งเป็นโรคซึ่งไม่เป็นอันตรายไม่ถึงกับทำให้ตาบอด แต่จะน่ารำคาญ รบกวนการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย แต่ก็มีวิธีหลากหลายวิธีที่ช่วยให้อาการดีขึ้น และสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขขึ้น ช่วงนี้ลมหนาวใกล้มา อากาศมักจะแห้งมากขึ้น อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพตาให้ชุ่มชื้นด้วยนะคะ ถ้าสงสัยว่าตาเราแห้งหรือไม่ สามารถมาพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาต่อไป
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์เลสิก LASER VISION
ทำเลสิกกี่วันถึงจะเห็นชัด?
ทำเลสิกกี่วันถึงจะเห็นชัด? การทำเลสิก (LASIK) เป็นขั้นตอนทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการแก้ไขสายตา ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง หลายคนมักสงสัยว่า หลังจากทำเลสิกแล้วจะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อไร และต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการฟื้นฟูการมองเห็นให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการมองเห็นชัดเจนจะค่อยๆชัดเจนขึ้นตามลำดับ   ระยะเวลาการเห็นผลหลังทำเลสิก 1. ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังการผ่าตัด: หลังทำเลสิก จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของการมองเห็นได้ทันทีภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง โดยที่จะเห็นขึ้นชัดกว่าก่อนหน้านี้อย่างรวดเร็ว 2. ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก: คนไข้จะสามารถมองเห็นได้ดีขึ้นอย่างชัดเจน แต่ยังอาจมีอาการเบลอหรือเห็นภาพหมอกบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติเนื่องจากยังมีแผลจากการผ่าตัดอยู่  3. ในช่วง 6 สัปดาห์แรก: การมองเห็นจะค่อยๆ นิ่งขึ้น แต่อาจมีบางครั้งที่ภาพยังไม่ชัดหรือเห็นเบลอ ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวของดวงตา อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ลดลงตามลำดับ 4. หลัง 6 สัปดาห์: สายตาจะเริ่มคงที่มากขึ้น และคุณจะรู้สึกสบายตามากขึ้น การมองเห็นจะนิ่งและชัดเจนขึ้นอย่างต่อเนื่อง   การฟื้นตัวหลังทำเลสิกด้วยเทคโนโลยี NanoRelex หากคุณต้องการฟื้นตัวไวและลดเวลาในการปรับตัวหลังการทำเลสิก เทคโนโลยี NanoRelex เป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่เป็นการผ่าตัดแบบไร้ใบมีด แต่ใช้เลเซอร์แทน ทำให้แผลเล็ก ฟื้นตัวไว และสามารถมองเห็นชัดได้ 100% ไวกว่าทางเลือกอื่น ยิ่งเทคโนโลยีทันสมัยขึ้น ก็จะยิ่งฟื้นตัวได้ไวขึ้น โดยที่จะมองเห็นดีขึ้นทันทีตั้งแต่วันแรกที่ทำ และแผลหายไว ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างการติดเชื้อระหว่างพักฟื้น ช่วงแรกหลังผ่าตัดแบบ NanoRelex อาจมีอาการภาพไม่ชัดบ้างจากอาการตาแห้ง แต่สามารถใช้น้ำตาเทียมช่วยได้ทันที  การมองเห็นที่ดีขึ้นทันที: ส่วนใหญ่การมองเห็นจะดีขึ้นตั้งแต่วันแรกที่ทำ แผลหายไว: การฟื้นตัวเร็วและลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ใช้น้ำตาเทียมช่วย: หากมีอาการภาพชัดหรือไม่ชัดบ้างจากอาการตาแห้ง สามารถใช้น้ำตาเทียมช่วยได้ทันที สนใจอยากทำเลสิกแบบ NanoRelex ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ Laser Vision ศูนย์รักษาสายตาที่ครบวงจร ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-511-2111 หรือ 02-939-6006 Line ID : @LASERVISION (มี@นำหน้า)  
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
ศูนย์เลสิก LASER VISION
ศูนย์รักษาต้อหิน
ศูนย์รักษากระจกตา
ศูนย์รักษาตาเด็ก
ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา
Understanding Pterygium: Causes, Symptoms, and Treatment Options
  How people notice and see Pterygium without knowing it is Pterygium   Have you ever looked in the mirror and noticed a small, fleshy growth on the white part of your eye, usually near the nose? It might appear slightly red, or you might feel like something’s stuck in your eye. This growth can slowly creep onto the clear, center part of your eye, known as the cornea, causing discomfort, dryness, or even blurred vision. Many people mistake these signs for simple irritation, dryness, or tired eyes, unaware that they might be dealing with a condition called pterygium.   1. What is Pterygium? Pterygium (pronounced tuh-RIJ-ee-um) is a common eye condition that looks like a triangular or wedge-shaped growth on the eye’s surface. It usually starts small but can slowly expand toward the cornea. Though it might look concerning, it’s not cancerous. For some, it’s just a minor cosmetic issue, but for others, it can cause vision problems or significant discomfort   2. Why does it happen? Pterygium happens mainly due to long-term exposure to UV light from the sun, which is why it’s often called "surfer’s eye." But you don’t have to be a surfer to get it - anyone who spends a lot of time outdoors, especially without proper eye protection, is at risk. Dust, wind, and dry environments can also irritate the eye and contribute to its development. Genetics can play a part, too, as pterygium is more common in certain families. Pinguecula and pterygium are often mistaken for each other. Pinguecula is a yellowish bump on the conjunctiva, while pterygium extends onto the cornea and can affect vision. Proper diagnosis is key.   3. What to do when you notice it? If you spot a growth on your eye or feel persistent discomfort, dryness, or redness, don’t ignore it. Make an appointment with an eye specialist, especially if it’s growing or starting to affect your vision. The doctor can diagnose pterygium with a simple eye exam and discuss whether it needs to be treated right away or monitored over time.   4. Treatment Options Observation and Protection: In mild cases, protecting your eyes from the sun with sunglasses and using lubricating eye drops can help keep symptoms in check. Medication: If the pterygium becomes red and inflamed, doctors may prescribe anti-inflammatory eye drops to reduce irritation.  Surgery: When pterygium grows too large, affects vision, or causes significant discomfort, surgery to remove the growth may be recommended. This involves removing the tissue and often placing a graft (a small piece of your own conjunctiva) to cover the area and reduce the chance of it coming back.   5. Advice from Bangkok Eye Hospital and Next Steps At Bangkok Eye Hospital, our experienced ophthalmologists often see patients who are unsure what’s causing their eye discomfort or unusual growths. It’s essential to address these concerns early to avoid complications. If surgery is necessary, one of the best innovations available today is using fibrin glue during pterygium surgery, which offers many benefits over traditional stitches.     To learn more about how fibrin glue can improve your recovery and comfort, check out our next article on this advanced treatment here. If you’re experiencing symptoms or want a consultation, don’t hesitate to reach out to Bangkok Eye Hospital - our team is here to guide you through every step of your eye care journey.
ศูนย์เลสิก LASER VISION
เคล็ดลับการป้องกัน รักษาสุขภาพปัญหาสายตาก่อนวัยอันควร
เคล็ดลับการป้องกัน รักษาสุขภาพปัญหาสายตาก่อนวัยอันควร ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ การรักษาสุขภาพดวงตาจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่มักใช้สายตาจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ปัจจัยเหล่านี้สามารถเร่งให้เกิดปัญหาสายตาได้เร็วกว่าปกติ การดูแลและป้องกันปัญหาสายตาตั้งแต่อายุยังน้อยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยชะลอการเกิดปัญหาดวงตาในอนาคต ดูแลสายตาอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาสายตารบกวนก่อนวัย? พักสายตาอยู่เสมอ หากจำเป็นต้องทำงานอยู่หน้าจอ ควรพักสายตาจากหน้าจอเป็นระยะ ๆ ด้วยการมองสีเขียว เช่น ต้นไม้ เพื่อพักสายตาอย่างน้อย 20 วินาที ทุก 20 นาที นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับเป็นช่วงที่จะได้พักสายตาและลดการใช้สายตา รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสายตา อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามิน A, วิตามิน C, วิตามิน E และสารเบต้าแคโรทีน, ลูทีน และซีแซนทีน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคตา ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีสีสันสดใส เช่น แครอท, ผักโขม, และผลไม้ตระกูลเบอร์รี เพื่อบำรุงสายตา สวมแว่นกันแดดป้องกันแสง UV แสงแดดสามารถทำลายดวงตาและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจกและปัญหาจอประสาทตาเสื่อมได้ การสวมแว่นกันแดดที่มีการป้องกันแสง UV 100% จะช่วยปกป้องดวงตาจากแสงแดดที่เป็นอันตราย ปรับแสงสว่างรอบตัว แสงสว่างที่ไม่เหมาะสมขณะทำงานหรืออ่านหนังสือ เช่น แสงที่มืดหรือจ้าเกินไป อาจทำให้สายตาทำงานหนักเกินไป ควรปรับแสงให้เหมาะสม โดยเฉพาะแสงในห้องทำงานหรือพื้นที่ที่ต้องใช้สายตาเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการขยี้ตา การขยี้ตาเป็นพฤติกรรมที่หลายคนอาจทำโดยไม่รู้ตัวเมื่อรู้สึกคันหรือระคายเคืองดวงตา อย่างไรก็ตาม การขยี้ตาสามารถทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น การระคายเคืองที่รุนแรงขึ้น, การทำลายเยื่อบุตา และเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกที่อยู่บนมืออาจเข้าสู่ดวงตา ทำให้เกิดการอักเสบหรือการติดเชื้อได้ เช่น ตากุ้งยิงหรือเยื่อบุตาอักเสบ   การดูแลสายตาเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันปัญหาสายตาที่อาจเกิดขึ้นก่อนวัย การพักสายตาจากการจ้องหน้าจอเป็นระยะทุก 20 นาที การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอช่วยลดการใช้สายตา อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามิน A, C, E และสารเบต้าแคโรทีน มีส่วนช่วยบำรุงดวงตา การสวมแว่นกันแดดที่มีการป้องกัน UV 100% ช่วยปกป้องดวงตาจากแสงแดดที่เป็นอันตราย นอกจากนี้ การปรับแสงสว่างรอบตัวให้เหมาะสมและหลีกเลี่ยงการขยี้ตาก็เป็นเคล็ดลับที่ช่วยรักษาสุขภาพดวงตาได้ดี
ศูนย์เลสิก LASER VISION
รู้จักกับ PRK การแก้ไขสายตาที่คนสายตาเอียงไม่ควรมองข้าม
รู้จักกับ PRK การแก้ไขสายตาที่คนสายตาเอียงไม่ควรมองข้าม PRK (Photorefractive Keratectomy) เป็นวิธีการรักษาค่าสายตาที่มีมาตั้งแต่ปี 1980 และยังคงเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันเพราะเป็นวิธีที่ได้ผลดีและเป็นทางเลือกในการแก้ไขค่าสายตาสำหรับผู้สายตาเอียง สายตาสั้น สายตายาว หรือผู้ที่ไม่สามารถทำเลสิกได้ เนื่องจากการทำเลสิกนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง วันนี้จึงจะพาไปทำความรู้จักกับการทำ PRK กัน ใครบ้างที่สามารถทำ PRK ได้? ผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง สามารถทำ PRK ได้ โดยผู้ที่สายตาสั้น จะต้องสั้นไม่เกิน -10.00 diopters, สายตายาว ไม่เกิน + 6.00 diopters และสายตาเอียง ไม่เกิน 6.00 diopters ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องเป็นผู้ที่สายตาคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 1 ปี ผู้ที่มีกระจกตาบางหรือมีปัญหาตาแห้ง เพราะผู้ที่มีปัญหาเหล่านี้จะไม่สามารถแก้ไขค่าสายตาด้วยการทำเลสิกได้ เนื่องจากการทำเลสิกนั้นจะต้องผ่าตัดกระจกตาชั้นบนออกเพื่อทำการปรับค่าสายตา ผู้ที่ไม่มีโรคตาหรือโรคของกระจกตา เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม หรือมีประวัติกระจกตาถลอก ผู้ประกอบอาชีพที่ห้ามแก้ไขสายตาด้วยการเลสิก เช่น อาชีพนักบิน ตำรวจ ทหาร ผู้ที่ไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะอาจเป็นอันตรายได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ขั้นตอนการทำ PRK ที่น่ารู้ เจ็บไหม ทำอย่างไร? ความจริงแล้วไม่ได้เจ็บอย่างที่หลายคนคิด เพราะเป็นการแก้ไขค่าสายตาที่กระจกตาด้านบน ไม่ได้เปิดฝากระจกตา ทำให้ไม่มีแผลเปิดและสมานตัวได้เร็ว ใช้เวลาทำไม่นาน เพียงประมาณ 30 นาทีเท่านี้เอง ขึ้นอยู่กับปัญหาทางสายตาของแต่ละคน ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่หากใครอยากนอนดูอาการก่อนก็สามารถทำได้เช่นกัน ส่วนขั้นตอนการทำ  PRK ก็มีลำดับดังต่อไปนี้ นำชั้นเยื่อบุผิวออก สามารถทำได้หลายวิธี ส่วนมากแล้วจะนิยมหยดแอลกอฮอล์บนผิวตาด้านบนกระจกตา เพื่อให้เยื่อบุผิวล่อนและละลายเอาเยื่อหุ้มกระจกตาออก ปรับผิวกระจกตาให้เรียบ โดยการใช้เครื่องมือผ่าตัด เลเซอร์เอ็กไซเมอร์(Ecximer) ปรับแต่งผิวกระจกตา เพื่อให้มีรูปทรงตามค่าสายตาที่คำนวณไว้หรือใกล้เคียงกับค่าปกติมากที่สุด เป็นขั้นตอนการใช้เลเซอร์คลื่นสั้นแบบแสงเย็นที่ไม่อันตรายต่อเนื้อเยื่อ ปิดแผลด้วยคอนแทคเลนส์ หรือใส่เลนส์สัมผัสแบบอ่อน เพื่อปิดผิวกระจกตาด้านบน โดยจะใส่ไว้เป็นเวลา 5 - 7 วัน เพื่อให้รอให้เยื่อหุ้มกระจกตาสร้างใหม่แล้วจึงนำออก เป็นวิธีการรักษาที่ไม่ต้องเย็บแผล สามารถหายได้เองแต่อาจต้องใช้เวลาในการพักฟื้นประมาณ 2 สัปดาห์   การทำ PRK เป็นการแก้ไขค่าสายตาแบบถาวรที่เห็นผลได้ระยะยาว สามารถแก้ไขค่าสายตาได้ทั้งสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง มีผลข้างน้อย มีความเสี่ยงต่ำ ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ มีความแม่นยำสูงและปลอดภัย หากใครที่สนใจสามารถเข้าไปปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจสายตาและปรึกษาปัญหาทางสายตาก่อนได้ เป็นวิธีการรักษาที่ใช้เวลาไม่นาน
ศูนย์เลสิก LASER VISION
เลสิกแบบไร้ใบมีดเป็นยังไง? เจ็บไหม?
การทำเลสิกแบบไร้ใบมีดเป็นนวัตกรรมใหม่ในการแก้ไขปัญหาสายตา โดยไม่ต้องใช้ใบมีดในการเปิดกระจกตา ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในกระบวนการรักษา   เลสิกแบบไร้ใบมีดคืออะไร? เลสิกแบบไร้ใบมีดใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ในการเปิดฝาหรือชั้นบางๆ ของกระจกตาแทนการใช้ใบมีด เทคนิคนี้มีความแม่นยำสูงและสามารถควบคุมความลึกของการเปิดฝาได้อย่างละเอียด ทำให้กระบวนการเป็นไปอย่างรวดเร็วและปลอดภัย   เทคโนโลยีที่ Laser Vision ที่ Laser Vision มีการให้บริการเทคโนโลยีเลสิกแบบไร้ใบมีดหลากหลายประเภท เช่น: Femto Lasik: ใช้เลเซอร์เฟมโตเซคอนด์ในการสร้างฝากระจกตา ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำและลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน Nano Lasik: เทคโนโลยีนี้มีการปรับปรุงขั้นตอนการผ่าตัดให้ละเอียดและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น พร้อมกับการฟื้นตัวที่เร็วขึ้น NanoRelex: เทคโนโลยีที่ใช้เลเซอร์ในการแก้ไขความโค้งของกระจกตาโดยไม่ต้องเปิดฝากระจกตา ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดแผลและติดเชื้อ   เจ็บไหม? การทำเลสิกแบบไร้ใบมีดนั้นใช้เวลาน้อยและเป็นกระบวนการที่ไม่เจ็บปวด จักษุแพทย์จะใช้ยาชาหยอดตาก่อนการผ่าตัดเพื่อให้คุณรู้สึกสบายตลอดกระบวนการ ส่วนหลังการผ่าตัด อาจมีอาการระคายเคืองเล็กน้อย ซึ่งเป็นเรื่องปกติและจะหายไปในเวลาไม่นาน การทำเลสิกแบบไร้ใบมีดเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย ไม่เจ็บ และมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาสายตา ถือเป็นการลงทุนในสุขภาพสายตาที่ควรให้ความสำคัญ ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและการดูแลที่มีมาตรฐานสูงจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำเลสิกที่ Laser Vision โทร 02-511-2111 หรือ 02-939-6006 Line ID : @LASERVISION (มี@นำหน้า)  
ศูนย์เลสิก LASER VISION
สัญญาณเตือนว่าแว่นที่ใส่อาจไม่ตรงกับค่าสายตาจริง!
การใส่แว่นตาที่ไม่ตรงกับค่าสายตาจริงอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ซึ่งควรสังเกตและแก้ไขทันทีเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพดวงตาและความไม่สะดวกในการดำเนินชีวิต   อาการที่บ่งบอกว่าแว่นของคุณอาจไม่ตรงกับค่าสายตา 1. เวียนหัวหรือปวดหัว: หากคุณรู้สึกเวียนหัวหรือปวดหัวบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากใส่แว่น อาจเป็นสัญญาณว่าแว่นของคุณไม่ตรงกับค่าสายตาจริง 2. มีอาการตาล้าบ่อยๆ: อาการตาล้าหรือเมื่อยตาบ่อยครั้งอาจเกิดจากการใส่แว่นที่ไม่ตรงกับค่าสายตา ทำให้ต้องใช้ความพยายามในการโฟกัสภาพ 3. ภาพไม่ชัดเจนหรือต้องเพ่งมากขึ้น: หากคุณรู้สึกว่าภาพที่เห็นไม่ชัดเจนเหมือนเดิม หรือจำเป็นต้องเพ่งมากขึ้นเพื่อให้มองเห็นชัดเจน อาจเป็นเพราะค่าสายตาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม   ทำไมควรรีบแก้ไขปัญหาแว่นตาไม่ตรงกับค่าสายตา การใส่แว่นที่ไม่ตรงกับค่าสายตาจริงไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตา แต่ยังอาจส่งผลต่อสุขภาพดวงตาในระยะยาว ดังนั้นหากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรรีบไปตรวจเช็คค่าสายตาใหม่เพื่อปรับเปลี่ยนแว่นให้เหมาะสม   ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาสายตาแบบถาวร หากคุณต้องการแก้ไขปัญหาสายตาแบบถาวร การทำเลสิกเป็นทางเลือกที่ดี แต่ควรให้ค่าสายตานิ่งก่อนจึงค่อยมาตรวจสุขภาพตาเพื่อประเมินความพร้อมในการทำเลสิก การทำเลสิกช่วยแก้ไขปัญหาสายตาแบบถาวร ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการทำ และสามารถคืนการมองเห็นที่ชัดเจนให้เราได้ แต่การจะทำเลสิกก็ควรเลือกสถานที่ที่น่าไว้วางใจและมากประสบการณ์ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของดวงตาเรา   ทำเลสิกที่ Laser Vision การเลือกทำเลสิกที่ Laser Vision ก็ถือเป็นการเลือกความปลอดภัยให้ดวงตาของคุณ เพราะที่นี่เราเป็นศูนย์รักษาค่าสายตาที่ได้มาตรฐาน ทั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รักษาดวงตามาแล้วหลายพันคู่ จึงมั่นใจได้ว่ามีความชำนาญในการรักษาเป็นอย่างมาก รวมไปถึงพนักงานที่ได้รับการเทรนด์มาอย่างดีเพื่อที่จะให้คำตอบเบื้องต้นเกี่ยวกับการทำเลสิกให้คนไข้ได้ และเทคโนโลยีที่ Laser Vision เลือกใช้ เป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้การทำเลสิกเป็นเรื่องง่ายขึ้น และตอบโจทย์กับปัญหาสายตาของคนไข้อย่างหลากหลาย หากสนใจปรึกษาเรื่องการทำเลสิก สามารถติดต่อได้ที่ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-511-2111 หรือ 02-939-6006 Line ID : @LASERVISION (มี@นำหน้า)  
ที่อยู่
Laser Vision International LASIK Center

10/989 ซ.ประเสริญมนูกิจ 33 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230

ช่องทางติดต่อ
Line