ใหม่ล่าสุด

 

    รับสิทธิพิเศษสำหรับ NanoRelex

    เฉพาะเดือนเมษายนนี้ คลิกที่นี่

 

 

"Best Vision,
      Best Version"

ศูนย์รักษาสายตาชั้นนำของประเทศไทย เทคโนโลยีทันสมัย พร้อมการรักษาทุกรูปแบบ ดูแลโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์มากกว่า 25 ปี

NanoRelex หรือ NanoLASIK

การรักษาแบบไหนดีกว่ากัน

เลือกการรักษาที่เหมาะสมกับคุณได้ที่นี่

มุมสุขภาพตา : #โรคตาบอดสี

เรียงตาม
โรคเกี่ยวกับดวงตาที่มีโอกาสเกิดกับพนักงานออฟฟิศ
โรคเกี่ยวกับดวงตาที่มีโอกาสเกิดกับพนักงานออฟฟิศ ไหนใครบ้างที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมนานๆ บ้าง Laser Vision เชื่อว่ามีเยอะแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ๆ ที่เป็น Graphic Designer , Developer, Editor และอาชีพอื่นๆ ปัญหาที่มักจะเกิดตามมาก็คือสายตาล้า อ่อนเพลีย และบางคนก็คิดว่าไม่เป็นไร นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ โรคเกี่ยวกับดวงตา ดังนั้น Laser Vision จะมาบอกให้ฟังเองว่าโรคเกี่ยวกับดวงตาที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงานออฟฟิศมีโรคอะไรบ้าง   1. โรคตาสัมผัส หรือตาแห้ง เกิดจากการใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อย่างเช่น นั่งทำงานอยู่หน้าจอคอม ส่งผลให้เรารู้สึกคัน ระคายตาเหมือนมีอะไรติดอยู่ และเริ่มมีอาการแพ้แสง และลม บางครั้งมีอาการตามัวด้วย   2. ต้อกระจกตาเป็นพิษ ปกติจะพบได้กลุ่มผู้สูงวัย แต่กลุ่มพนักงานออฟฟิศก็สามารถเกิดได้เช่นกัน ช่วงแรกจะรู้สึกตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน ตอนขับรถเวลากลางคืนเห็นแสงกระจาย และอื่นๆ   3. โรคจอประสาทเสื่อม โรคนี้มักพบได้ง่ายในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่แน่นว่าพนักงานออฟฟิศก็มีโอกาสเช่นกัน เพราะเกิดจากการใช้สายตาหนัก และเกิดจากการสูบบุหรี่ ช่วงแรกของอาการอาจไม่รู้เลยด้วยซ้ำ ดังนั้นควรหมั่นตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี   4. โรคซีวีเอส หรือชื่อเต็มๆ ก็คือ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม เป็นโรคที่พบได้ง่ายในกลุ่มที่ใช้งานคอมพิวเตอร์นานๆ แต่ละคนก็จะแสดงอาการมากน้อยแต่ต่างกันออกไป ช่วงแรกจะเริ่มมีอาการแพ้แสง ปวดกระบอกตา ตาแห้ง หรือตาพร่ามัว   ทั้งหมดนี้ก็เป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับกลุ่มเพื่อนๆ ที่เป็นพนักงานออฟฟิศ ดังนั้นอย่าลืมดูแลสุขภาพตา พักสายตาระหว่างทำงานทุกๆ ชั่วโมง ไม่ใช้โทรศัพท์ให้ห้องมืดๆ ออกกำลังกาย ทานของที่มีประโยชน์ก็ช่วยให้สุขภาพตาเราดีได้นะ    
อ่านเพิ่มเติม
Laser Vision
มารู้จักโรคตาบอดสี
มารู้จักโรคตาบอดสี ผู้ที่เป็นโรคตาบอดสี (Color Blindness) จะเกิดปัญหาในการแยกแยะสีของวัตถุบางอย่าง      ทั้งนี้ บางคนมักเข้าใจผิดว่า ผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีจะไม่สามารถรับรู้สีใดๆได้เลย ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ที่มีภาวะตาบอดสีอย่างรุนแรงจนกระทั่งเห็นภาพต่างๆ เป็นเพียงสีขาวดำนั้นสามารถพบได้น้อยมากๆ ส่วนมากแล้วคนที่ตาบอดสีจะรับรู้สีได้ แต่สามารถแยกสีมีความคล้ายกันได้น้อย อย่างไรก็ตาม คนที่ตาบอดสีที่สามารถบอกสีได้ถูกต้อง เช่น ตาบอดสีแดง จะสามารถบอกชื่อสีแดงได้ถูกต้อง ซึ่งในความเป็นจริงมองเห็นสีแดงแตกต่างไปจากคนปกติ เพราะได้รับการสอนให้เรียกสีที่เค้ามองเห็นจากวัตถุนั้นๆว่า นี่คือสีแดง จึงมักจะบอกสีได้ถูกต้อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่นได้หากประกอบอาชีพในบางอาชีพที่ต้องใช้สีในการบอกสัญลักษณ์   สาเหตุ      โดยปกติในจอประสาทตาของคนเราจะมีเซลล์ 2 ชนิดที่ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆ ซึ่งได้แก่ เซลล์รูปแท่ง และเซลล์รูปกรวย โดยเซลล์ทั้งสองชนิดนี้จะมีหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้     เซลล์รูปแท่ง      เป็นเซลล์ที่ช่วยในการมองเห็นในที่สลัว ภาพที่เห็นจากเซลล์รูปแท่งนี้จะมีลักษณะเป็นสีขาวหรือดำขึ้นอยู่กับความสว่างของแสง ในดวงตาของคนปกติ เซลล์รูปแท่งนี้จะช่วยให้สามารถมองเห็นวัตถุในที่มืดได้ในระดับหนึ่ง     เซลล์รูปกรวย      เป็นเซลล์ที่ช่วยให้มองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆ ซึ่งจะทำหน้าที่เฉพาะในที่สว่าง โดยเซลล์รูปกรวยนี้จะมี 3 ชนิด คือ เซลล์รูปกรวยสีแดง เซลล์รูปกรวยสีเขียว และเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน ซึ่งเมื่อแสงผ่านเข้าสู่ดวงตาจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์ทั้งสามให้ส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อผสมผสานและแปลสัญญาณออกมาเป็นสีต่างๆ ในภาวะที่มองเห็นสีได้อย่างปกติ เซลล์ทั้งสามส่วนจะถูกกระตุ้นส่งสัญญาณและแปลสัญญาณสีออกมาได้อย่างถูกต้อง เรียกว่า Trichromatism บางรายอาจจะมีเซลล์ดังกล่าวไม่ครบทั้ง 3 ชุด หรือชุดใดชุดหนึ่งทำงานผิดปกติ ทำให้เห็นสีเพี้ยนไปจากคนอื่นๆ ภาวะนี้เรียกว่า Dichromatism ผู้ที่มีภาวะแบบนี้มักจะไม่รู้ตัวว่ามองเห็นเพี้ยนจากคนอื่น เพราะจะเกิดการรับรู้สีในแบบของตัวเอง สำหรับผู้ที่มีอาการตาบอดสีอย่างรุนแรง จะมีเซลล์รับสีเพียงชุดเดียว เรียกว่า Monochromatism ซึ่งผู้มีอาการเช่นนี้จะมองเห็นภาพเป็นขาวดำ     โรคตาบอดสีเป็นโรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์ พบได้ประมาณ 8% ของประชากร และจะพบได้มากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง   การทดสอบตาบอดสี      ผู้ที่ต้องการตรวจว่าเป็นโรคตาบอดสีหรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจและปรึกษาจากจักษุแพทย์ ซึ่งเครื่องมือที่นิยมใช้ในการตรวจโรคตาบอดสี ได้แก่ แผ่นภาพ Ishihara Chart ซึ่งหลายๆท่านอาจจะเคยรู้จัก ลักษณะของแผ่นภาพชนิดนี้จะมีจุดวงกลมวงใหญ่และมีจุดวงกลมเล็กๆ ข้างในซึ่งจะซ่อนตัวเลขไว้และใช้สีที่แตกต่างกันเพื่อใช้ทดสอบ ซึ่งหากเป็นคนตาบอดสีจะทำให้เกิดความสับสนไม่สามารถแยกสีและอ่านตัวเลขได้ถูกต้อง แต่หากอ่านได้ถูกต้องก็ถือว่า มีอาการปกติ   คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะตาบอดสี เนื่องจากเป็นอาการที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางป้องกันที่จะทำให้เกิดภาวะตาบอดสีในเครือญาติ ในกรณีที่ไม่ได้เป็นโรคตาบอดสีแต่กำเนิด แต่มาเกิดอาการขึ้นภายหลังควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการ และแนวทางในการรักษา ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีสามารถสอบใบขับขี่ได้ และสามารถบอกความแตกต่างของสัญญาณไฟจราจรได้ งานที่ผู้ทึ่มีภาวะตาบอดสีควรหลีกเลี่ยงได้แก่ งานด้านเคมี จิตรกร นักบิน ช่างอิเทคโทรนิกส์ หรืองานที่ต้องมีการใช้สีเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงสิ่งต่างๆ
ที่อยู่
Laser Vision International LASIK Center

49/5 อาคารเลเซอร์วิชั่น ซ.รัชดาภิเษก 48 ถ.รัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ช่องทางติดต่อ
Line